วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 10

October 20 , 2015
Knowladge

นำเสนองานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หัวหน้าคณะวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุลีพร  สงวนศรี

                      วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือพัฒนาคนในชาติให้สามารถแสวงหาความรู้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีสืบเสาะ ค้นคว้าความรู้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ ฝึกคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การพัฒนาคนจึงต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ฝึกคิดเป็น

วิธีการดำเนินวิจัย
                       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง พัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมโดยการสังเกตจากการอบรมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                      1. แบบสอบถามความคิดเห็นครูปฐมวัย
                      2. แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานการสอนคิดของครูปฐมวัย

ตัวแปรที่ศึกษา
                     ตัวแปรต้น คือ แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
              ตัวแปรตาม คือ ทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาของครูปฐมวัย และความสามารถคิดวิเคราะ์แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

สรุป
              จากการวิจัยพัฒนาทดลองเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกิดกระบวนการสังคมแห่งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างนักวิจัยกับชุมชน เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีส่วนร่วมวางแผนจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกิดความตระหนักเรื่องการพัฒนาเด็กคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างชุมชนกับนักวิจัย เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการคิดผ่านการเล่นในชีวิตประจำวันโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5   

นางสาว ปรางชมพู  บุญชม 
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ  ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ที่มาและความสำคัญ
             วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักทางการเรียนรู้

ความมุ่งหมายของการวิจัย
              1. เพื่อศึกษาระดับทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
              2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ขอบเขตการวิจัย
           ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชาย - หญิง ที่มีอายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ

ตัวแปรที่ศึกษา
               ตัวแปรอิสระ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
               ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก ด้านการสื่อสาร และด้านการลงความคิดเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
                2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
                3. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุป
                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลาย และทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐาน การเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็น จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์


ระดมความคิดในการทำ Cooking ภายในกลุ่ม
ข้าวจี่ไส้ไก่หยอง


ส่วนผสม
          1. ข้าวเหนียวนึ่งสุก
          2. ไก่หยอง
          3. ไข่ไก่
          4. ซอสปรุงรส
          5. น้ำตาล
          6. เกลือ
          7. ไม้เสียบข้างจี่

วิธีการทำ
          1. ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามใจชอบ
          2. ใส่ไส้ไก่หยอง และเสียบไม้ข้าวที่ปั้นไว้แล้ว
          3. นำข้าวจี่ไปย่างพอให้ข้าวเปลี่ยนสี
          4. ตอกไข่ไก่ลงพาชนะ ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซอสปรุงรส ตีให้เข้ากัน
          5. พอข้าวที่นำไปย่างเปลี่ยนสีก็นำลงมาชุบไข่และนำขึ้นไปย่างอีก ทำอย่างนี้ไปหลายๆชั้น เพื่อรสชาตที่กลมกล่อม


Skills
          อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัย และเพิ่มเติมความรู้ในวิจัยนั้นๆ เพื่อเสริมความรู้ให้แก่นักศึกษา จากนั้นให้นักศึกษาระดมความคิดในการทำ Cooking ตามหน่วยที่กลุ่มตนเองรับผิดชอบ

Apply
          รู้จักวางแผนในการทำการสอน และนำความรู้เกี่ยวกับ Cooking ไปใช้สอนเด็กในอนาคต

Classroom Evaluation
         ห้องเรียนสะอาด โตณะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
         อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น