วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 16

November 24 , 2015
Knowladge

นำเสนอบทความ

นางสาว รัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
                    ผลจากการคิดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรเรียนรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่

นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี  ไสยวรรณ
                     วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่น ทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัสเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู้ความรู้สึกประสบความสำเร็จ


นางสาว ชะนาภา  คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
             การพัฒนาแนวคิด       
                                1. ด้วยวิธีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
                                2.  การตั้งคำถาม
                                3. การทดลอง
                                4. การสังเกตและหาข้อสรุป
                         
             ความตระหนัก  ให้เด็กๆมีมุมมองรู้สึกรับผิดชอบในงาน  
                                 1.  สิ่งต่างๆที่ทำต้องการที่จะหาอะไร
                                 2. ทำอะไรได้บ้าง
                                 3. เห็นอะไรบ้าง
                                 4. สิ่งต่างๆนั้นบอกอะไร
                         
              ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
                          1. สนับสนุนความอยากรู้อยากเห็น
                          2. สนับสนุนโดยการใช้คำถาม
                          3. ให้ใช้ประสาทสัมผัสสอดคล้องกับวิธรการเรียนรู้
                          4. ส่งเสริมกระบวนการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิม เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ
                          5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
                          6. ส่งเสริมความดูแลและความรับผิดชอบ
                          7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความรู้สึก





นำเสนอวิจัย
นางสาว จงรักษ์  หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี  หมวดไธสง

              เครื่องมือในการวิจัย
                         1. แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยศาสตร์นอกห้องเรียน
                         2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย


ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม




ตัวอย่างแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย




นางสาว ประภัสสร  คำบอนพิทักษ์
เรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย ณัฐชุดา  สาครเจริญ
                วัตถุประสงค์
                             1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
                             2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
              
                 วิธีดำเนินการวิจัย
                             1. กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
                             2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                             3. เก็บรวบรวมข้อมูล
                             4. ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

                 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                             1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
                             2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย


นำเสนอโทรทัศครู
นางสาว กรกช  เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ 
                    ครูนำไข่ 2 ใบ มาโยนพร้อมกัน เพื่อให้เด็กสังเกตปฏิกิริยาของไข่เมื่อหล่นกระทบพื้น เด็กสังเกตเห็นว่า ไข่ใบหนึ่งแตก แต่อีกใบแค่ร้าว เด็กๆจึงบอกว่าไข่ใบที่ร้าวนั้นเป็นไข่ต้ม



Skills
          อาจารย์ให้เพื่อที่เหลือจากการนำเสนอ ออกมานำเสนอบลทความ วิจัย และโทรทัศน์ครูหน้าห้อง

Apply
           สามารถนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์และบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Classroom Evaluation
            ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้อย่างไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้มีเพียงพอสำหรับผู้เรียน

Evaluating Teacher
            อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
            เพื่อเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี

Self Evaluation 
            เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Recorded Diary 15

November 21 , 2015

Knowladge

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558
(National Science and Techonlogy Fair 2015)




ประวัติของเล่น
เราไม่อาจทราบได้ว่าของเล่นในยุคดึกดำบรรพ์แบบแรกแรกคืออะไรและใครเป็นผู้คิดทำขึ้นประวัติความเป็นมาที่พอจะทราบได้ก็ได้จากอารยธรรมที่หลงเหลืออยู่ของชาวอียิปต์โบราณ ลูกบอลและลูกข่างอียิปต์โบราณมีอายุราว 1250 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตุ๊กตาเสือจากเมืองทิฟอายุประมาณ 1000 ปีก่อนคริสตกาลตาทำด้วยแก้วฟันทำด้วยสำริดและปากเปิดปิดได้ ภาพเขียนจีนในตอนต้นของทศวรรษที่ 19 แสดงให้เห็นการเล่นว่าวที่เป็นทางของเล่นเด็กและการพักผ่อนในยามว่างของผู้ใหญ่ หมีเท็ดดี้แบร์ตัวแรกสูงประมาณ 7 นิ้วสร้างขึ้นเมื่อค.ศ. 1907 ตุ๊กตาลูกบอลและตัวหมากที่มีอายุระหว่าง 1250 ถึง 10000 ปีก่อนคริสตกาล รถมาทำด้วยดินเคลือบจากกรีดอายุประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล ภาพจากต้นฉบับภาษาเยอรมันปีค.ศ. 1405 แสดงให้เห็นชายหนุ่มกำลังเล่นว่าวบนหลังม้า

ของเล่นกับเด็กไทย
ของเล่นของไทยมีอายุเป็นร้อยปีมีของเล่นหลายชนิดเช่นรูปสัตว์ต่างๆทำจากหินและดินเผา เคลือบน้ำเคลือบเป็นของเล่นในสมัยสุโขทัยสมัยอยุธยามีของเล่นดินเผาที่ไม่มีการเคลือบมีรูปร่างสัตว์ต่างๆและรูปเด็กหญิงชายกำลังอุ้มไก่เล่นต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ของเล่นสำหรับเด็กไทยมีความหลากหลายในวัสดุและรูปแบบของการเล่นเช่นตัวตลกเป็นดินเผาดิบดิบดำดำมีแกนตรงหัวเมื่อตุ๊กตาโดนเขย่าหัวจะสั่นไปมาได้

เล่นเพื่อการเรียนรู้
ของเล่นคือของที่มีไว้ใช้ในการเล่นเพื่อความสนุกสนานและเพลิดเพลินของเล่นมีประโยชน์ทำให้เกิดจินตนาการฝึกสมองฝึกความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นพัฒนาการต่างๆของร่างกาย

เล่นไปทำไม
นักวิชาการและนักปรัชญาหลายท่านได้เคยได้คำนิยามการเล่นไว้ว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้

เล่นแล้วได้อะไร
การเล่นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการในทุกทุกด้านซึ่งทำให้เด็กพัฒนาความสามารถด้านต่างๆของชีวิตได้แก่
1. ด้านร่างกายการเล่นเป็นการออกกำลังกายแบบหนึ่งซึ่งจะ เสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการกล้ามเนื้อ
2. ด้านจิตใจและอารมณ์ การเล่นทำให้เด็กเกิดจินตนาการรู้จักคิดและแก้ปัญหาเกิดความคิดสร้างสรรค์ความสนุกสนานและผ่อนคลาย
3. ด้านสังคมการเล่นกับผู้อื่นจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ผู้คนรอบข้างรู้จักการแบ่งปันรู้แพ้รู้ชนะซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักปรับตัวที่จะอยู่ในสังคม
 4. ด้านภาษาเมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะเล่นกับผู้อื่นความสามารถด้านภาษาและการสื่อสารจะถูกพัฒนาด้านการเรียนรู้การเล่นแต่ละแบบ จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในทักษะที่แตกต่างกันไปของเล่นบางอย่างฝึกความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในทางกลับกันบางอย่างอาจจะฝึกในเรื่องของภาษา 

ทรัพยากรในการทำของเล่น
                   ผลผลิตจากมะพร้าวเส้นทางมะพร้าวใบมะพร้าวกาบมะพร้าวและกะลามะพร้าวนำมาทำเดินกะลารถลากกาบมะพร้าวเป็นต้น ไม้มะค่าประดู่ไม้แดงไม้ชิงชันไม้มะขามและไม้มะม่วงนำมาแกะเป็นรูปสัตว์หรือนำมาแกะเป็นลูกข่างเป็นต้น ไม้ไผ่เช่น ไผ่สีสุกไผ่ซางและไผ่บงนำมาทำไม้โถกเถกและว่าเป็นต้น
                   ผลผลิตจากต้นกล้วยเช่นลำต้นกล้วยใบกล้วยทางกล้วยและเชือกกล้วยนำมาทำม้าก้านกล้วยปืนก้านกล้วยเป็นต้น เมล็ดของต้นไม้ในท้องถิ่นเช่นลูกสะบ้าลูกยางลูกยางนาเมล็ดมะม่วงกะล่อนและเมล็ดกะหล่ำตาแดงนำมาทำลูกข่างลูกยางนำมาโยนให้หมุนเป็นเกลียวเป็นต้น

เครื่องมือ


                   เครื่องมือที่ใช้ในการทำของเล่นส่วนใหญ่ก็คือเครื่องมือหัตถกรรมเช่นมีดชนิดต่างๆเลื่อยและเหล็กแหลมที่จะช่วยทุ่นแรงในการทำของเล่นซึ่งต้องอาศัยฝีมือความปราณีตและจินตนาการในการสร้างสรรค์ของเล่นภูมิปัญญาไทย


ความคิดสร้างสรรค์จากการเล่น
              ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวบุคคลไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเกินความสามารถที่จะมีได้แต่เป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในทักษะการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความอยากรู้และการลงมือกระทำเช่นการเล่นของเล่นสามารถสร้างจินตนาการให้กับเด็ก ความคิดสร้างสรรค์ของคนเรามีหลายระดับเช่น
1. การใช้จินตนาการเพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความคิดความรู้สึกของตน เช่น การวาดภาพ
2. การประดิษฐ์และสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่กำหนดให้เช่นให้ทำกระเป๋าจากเศษกระดาษทำกรงนกจากเถาวัลย์การคิดเมนูอาหารใหม่ๆ
3. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดนวัตกรรมที่ต้องอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบและมีการทดลองเช่นเครื่องซักผ้าเครื่องดูดฝุ่นเตาไมโครเวฟรถยนต์

4. การสร้างสรรค์หลักการแนวคิดใหม่ๆที่ส่งผลต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต้องใช้ทักษะการคิดที่เป็นระบบและซับซ้อนมากขึ้นเช่นระบบการสื่อสารการบินหรือการเดินทางไปสู่อวกาศ


เสียงจากพงไพร


ทำไมกบไม้จึงมีเสียงดัง เสียงกบเกิดจากการเอาไม้ครูดที่บริเวณหลังกบ ไม้หลังกบจะเกิดการสั่นสะเทือนและทำให้อากาศภายในช่องท้องเกิดการสั่นสะเทือนและสร้างเสียงออกมา เสียงจะเป็นอย่างไรถ้าเปลี่ยนชนิดของไม้ท่ากบตัวใหญ่หรือตัวเล็ก


ทำไมแค่เหวี่ยงจักจั่นจึงเกิดเสียง



เสียงของจักจั่นเกิดจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่เสียดสีกับยางสนไปแกนไม้ ส่งต่อไปยังแผ่นกระดาษ แล้วทำให้อากาศภายในกระบอกที่ทำหน้าที่เป็นกล่องเสียงความถี่ที่เท่ากันกับความสั่นของเชือก


ดึ๋งดั๋งพลังสปริง



หนอนดินและหนูกะลาวิ่งได้อย่างไร เมื่อดึงเชือกหนอนดินและหนูกะลาหนังยางจะบิดเป็นเกลียวทำให้หนอนและหนูวิ่งไปข้างหน้าเมื่อผ่อนเชือกหนังยางจะคลายตัวและยิ่งถอยหลังการบิดเป็นเกลียวของหนังยางเป็นหลักการเดียวกันของการทำงานของเกลียวสปริงคือเมื่อสปริงหดตัวจะเก็บพลังงานไว้เรียกว่าพลังงานศักย์ และเมื่อสปริงคลายตัวจะเปลี่ยนเป็นพลังงาน ในการเคลื่อนที่เรียกว่าพลังงานจลน์


แรงยกจอมพลัง


คอปเตอร์ไม้ไผ่ และกำหมุนบิน บินออกแบบเป็นเกลียวด้านหนึ่งชาติขึ้น และกำหมุน บินออกแบบเป็นเกลียวด้านหนึ่งเชิดขึ้น อีกด้านหนึ่งจะเชิดลง คล้ายเกลียว เมื่อใบพัดหมุน ใบทั้งสองด้านจะดันอากาศลง เกิดแรงยกตัว เหมือนกับการยกตัวของใบพัด เฮลิคอปเตอร์เครื่องบินและวาล์วที่ออกแบบให้ปีกเอียง เฮลิคอปเตอร์บินได้โดยใช้แรงยกจากลม ที่เกิดจากใบพัดที่หมุนเรียกว่า แรงดันใต้ปีก


หมุนพาเพลิน


ลูกข่างหมุนและตั้งได้อย่างไร ปั่นลูกข่าง ด้วยมือหรือใช้เชือก เหวี่ยง ลูกข่างหมุนที่แกนกลางขนาดเล็ก ตัวลูกข่าง จึงมีน้ำหนักมาก ทำให้มีความเฉื่อยจึงหมุนได้นานและขณะหมุนเกิดแรงที่ตั้งฉาก จับทิศทางการหมุน จึงทำให้ลูกข่างทรงตัวอยู่ได้


เครื่องร่อนชนิดพุ่งด้วยมือ


การเล่นเครื่องร่อนถือได้ว่าเป็นการก้าวสู่จุดเริ่มต้น ของการเล่นเครื่องบิน โดยเครื่องร่อนที่สามารถสร้างได้ง่ายๆด้วยตัวท่านเอง จากวัสดุนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้กระดาษ โฟม หรือวัสดุผสมอื่นๆ สามารถให้ทางความรู้ในเรื่องอากาศพลศาสตร์ ฟิสิกส์และ เรื่องเกี่ยวกับอากาศ ยาน ตลอดจนเป็นพื้นฐาน อันสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่ การเล่นเครื่องบินเล็ก ที่ถูกต้องได้ในอนาคต เครื่องร่อนมีหลายชนิด แบ่งตามเทคนิคการนำเครื่องร่อนขึ้นสู่อากาศ ได้ 4 ประเภทคือ
1. เครื่องร่อนพุ่งด้วยมือ
2. เครื่องร่อนแบบยิง หรือดีดขึ้นด้วยยาง
3. เครื่องร่อนแบบใช้สายลาก
4. เครื่องร่อนชนิดมีกำลังขับในตัวเอง



ภาพการเข้าร่วมกิจกรรม




Skills
           อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูงาน และจกบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ที่ชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี

Apply
              นำความรู้ที่ได้รับจากในงานมาบูรณาการในการเรียนการสอบหรือการจัดประสบการกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Classroom Evaluation
         ห้องเรียนสะอาด โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
        อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลในการจะเข้าร่วมกิจกรรม

Evaluation for Classmated
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 14

November 17 , 2015
Knowladge

ข้าวจี่ 

ส่วนผสม
                   1. ข้าวเหนียวนึ่งสุก
                   2. ไก่หยอง
                   3. ไข่ไก่
                   4. ซอสปรุงรส
                   5. น้ำตาล
                   6. เกลือ
                   7. ไม้เสียบข้าวจี่


วิธีการทำ
          1. ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามใจชอบ
          2. ใส่ไส้ไก่หยอง และเสียบไม้ข้าวที่ปั้นไว้แล้ว
          3. นำข้าวจี่ไปย่างพอให้ข้าวเปลี่ยนสี
          4. ตอกไข่ไก่ลงพาชนะ ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซอสปรุงรส ตีให้เข้ากัน

          5. พอข้าวที่นำไปย่างเปลี่ยนสีก็นำลงมาชุบไข่และนำขึ้นไปย่างอีก ทำอย่างนี้ไปหลายๆชั้น เพื่อรสชาตที่กลมกล่อม





ขนมโค



ส่วนผสม
              1. แป้ง
              2. น้ำ
              3. สีผสมอาหาร
              4. ไส้
              5. มะพร้าว

ขั้นตอนการทำ
              1. นวดแป้ง
              2. ใส่ไส้ตามที่ต้องการ
              3. นำขนมที่ใส่ไส้แล้วมาปั้นตามรูปแบบที่ชอบ
              4. นำมาต้ม
              5. คลุกกับมะพร้าวที่เตรียมไว้
              6. จัดจานตกแต่งตามจินตนาการ


หวานเย็นชื่นใจ



อุปกรณ์
              1. น้ำแข็งก้อน
              2. เกลือ
              3. กะละมัง
              4. น้ำหวานเฮลบลูบอย
              5. นมข้น
              6. ไม้พายสำหรับคน
              7. ถ้วยผสม

ขั้นตอนการทำ
                      1. นำน้ำแข็งใส่กะละมัง
                  2. ใส่เกลือลงไปในกะละมัง
                  3. นำถ้วยผสมขึ้นตั้งบนกะละมังที่ใส่น้ำแข็งและเกลือไว้แล้ว
                   4. เทน้ำแดงผสมน้ำลงไปในถ้วย
                   5. หมุนถ้วยน้ำแดงไปมา
                   6. คนน้ำแดงในถ้วยจนของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็งหรือจากน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งนั่นเอง


นำเสนอโทรทัศน์ครู
นางสาว กมลรัตน์  มาลัย
เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
             เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียน แล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้บ้าง อะไรจมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดืนน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ แต่ดินน้ำมันจมน้ำ เด็กจึงเกิดการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กๆรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วปั้นเป็นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กๆเคยเห็นเรือลอยน้ำได้

Skills
             อาจารย์ให้นักศึกษา นำอุปกรณ์มาทำ Cooking เมนู ข้าวจี่ หวานเย็นชื่นใจ และขนมโค โดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเองตามขั้นตอนการทำพร้อมทั้งสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Apply
             รู้จักวางแผนในการทำการสอน และนำความรู้เกี่ยวกับ Cooking ไปใช้สอนเด็กในอนาคต

Classroom Evaluation
         ห้องเรียนสะอาด โตณะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
         อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี



Recorded Diary 13

November 10 , 2015

Knowladge

วาฟเฟิล
ส่วนผสม
                 1. แป้งวาฟเฟิล
                 2. ไข่ไก่
                 3. นมคาร์เนชั่น
                 4. ข้าวโพด
                 5. ท็อปปิ้ง
                 6. เตาทำวาฟเฟิล

ขั้นตอนการทำ
                 1. อุ่นเตาทำวาฟเฟิลในอุณหภูมิปานกลาง
                 2. เทแป้งวาฟเฟิลลงภาชนะ ตอกไข่ ใส่นมคาร์เนชั่นลงไป ตามอัตราส่วนที่กำหนด คนให้เข้ากัน
                 3. นำแป้งที่ผสมเสร้จแล้วไปเทลงที่เตาทำวาฟเฟิล โรยหน้าด้วยข้าวโพด
                 4. ปิดฝาเตาและรอจนวาฟเฟิลสุก แล้วจึงนำมาตกแต่งจานตามใจชอบ

ทาโกะยากิ
ส่วนผสม
                 1. เตาทำทาโกะยากิ
                 2. ไข่ไก่
                 3. ต้นหอม
                 4. ข้าวสวย
                 5. แครอท
                 6. ปูอัด
                 7. ท็อปปิ้ง

ขั้นตอนการทำ
                 1. ตักข้าวสวยที่หุงเสร็จแล้วใส่ถ้วยของตนเอง 3 ช้อนโต๊ะ
                 2. ตักไข่ที่ตีแล้วลงในถ้วยของตน 1 ทัพพี
                 3. หั่นต้นหอม แครอท และใส่ปูอัดลงไปในถ้วย
                 4. ปรุงรสตามต้องการ
                 5. คนให้เข้ากันและตักใส่กระทะทาโกะยากิ หลุมละ 1ช้อน จากนั้นพลิกหมุนๆจนทาโกะยากิเป็นก้อน เป็นอันเสร็จ



Skills
           ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงขั้นตอนการทำ Cooking รู้จักสังเกตและแก้ปัญหา โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง

Apply
           นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กปฐมวัย และฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี


Recorded Diary 12

November 3 , 2015
Knowladge
           แต่ละกลุ่มนำ My Mapping และแผนการจัดกิจกรรมของกลุ่มตนเองมาแปะหน้าห้อง เพื่อให้อาจารย์และเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นพร้อมแก้ไข หน่วยมีดังนี้
                  1. หน่วยยานพาหนะ
                  2. หน่วยร่างกายของฉัน
                  3. หน่วยชุมชนของฉัน
                  4. หน่วยต้นไม้แสนรัก
                  5. หน่วยน้ำ
กลุ่มของดิฉันคือ หน่วยชุมชนของฉัน เมื่ออาจารย์และเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นเสร็จ สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ My Mapping ในหัวข้อ 
             - ลักษณะของชุมชน ขนาด ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน 
             - ข้อพึงระวัง เปลี่ยนเป็นข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
             - ประโยชน์ของชุมชน เกิดศิลปะ วัฒนธรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



Skills
          ปรับและแก้ไขมายแมปและแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม เลือกใช้คำที่เข้าใจง่ายและรัดกุม สิ่งที่นำมาเขียนในแผนจำเป็นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ระดมความคิดเห็นภายในกลุ่มในการปรับแก้แผนของตนเอง

Apply
          นำการปรับแก้แผนตามที่อาจารย์บอกไปใช้กับแผนของตนเองในอนาคต การคิดวิเคราะห์แผนต้องมีความละเอียดมากขึ้น การใช้คำและสิ่งที่จะนำมาเขียนในแผนต้องเป็นไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

         

Recorded Diary 11

October 27 , 2015
Knowladge

ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                 กิจกรรมที่ 1 พับกระดาษ ตัดเป็นดอกไม้ ระบายสีตกแต่ง และนำไปลอยในนำ สังเกตว่าดอกไม้เป็นอย่างไรเมื่อลงไปลอยในน้ำ สังเกตพบว่า เมื่อกระดาษโดนน้ำ กระดาษจะค่อยๆซึมซับน้ำ ทำให้ดอกไม้ค่อยๆบานออก 

              
                
                กิจกรรมที่ 2 เรื่อง แรงดัน นำน้ำเทใส่ขวดน้ำที่เจาะรู 3 รู แล้วสังเกตว่ารูไหนน้ำพุ่งไกลกว่าเพราะอะไร ?


           
               กิจกรรมที่ 3 ทำน้ำพุจากขวดน้ำ คุณสมบัติของน้ำ น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แรงดันน้ำมากขึ้นเท่าไร น้ำก็จะพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น



                กิจกรรมที่ 4  การทำลูกยางจำลอง โดยการใช้กระดาษและคลิปหนีบกระดาษ



           
                   กิจกรรมที่ 5 ไหมพรมเต้นระบำ ใช้หลอดตัดครึ่ง ร้อยไหมพรมเข้าไปในหลอดและมัดปม ทำการเป่าลมเข้าไปในหลอด และไหมพรมจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง



               
               กิจกรรมที่ 6 เทียนไข ขั้นตอนการสอน แนะนำอุปกรณ์ ตั้งสมมติฐาน ทดลอง สรุปผลการทดลอง


Skills
          อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์และหาเหตุผลจากการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิด ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้น การสังเกต เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

Apply
           สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทดลองวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ีดีและมีทักษะที่เกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี