วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Recorded Diary 14

November 17 , 2015
Knowladge

ข้าวจี่ 

ส่วนผสม
                   1. ข้าวเหนียวนึ่งสุก
                   2. ไก่หยอง
                   3. ไข่ไก่
                   4. ซอสปรุงรส
                   5. น้ำตาล
                   6. เกลือ
                   7. ไม้เสียบข้าวจี่


วิธีการทำ
          1. ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามใจชอบ
          2. ใส่ไส้ไก่หยอง และเสียบไม้ข้าวที่ปั้นไว้แล้ว
          3. นำข้าวจี่ไปย่างพอให้ข้าวเปลี่ยนสี
          4. ตอกไข่ไก่ลงพาชนะ ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซอสปรุงรส ตีให้เข้ากัน

          5. พอข้าวที่นำไปย่างเปลี่ยนสีก็นำลงมาชุบไข่และนำขึ้นไปย่างอีก ทำอย่างนี้ไปหลายๆชั้น เพื่อรสชาตที่กลมกล่อม





ขนมโค



ส่วนผสม
              1. แป้ง
              2. น้ำ
              3. สีผสมอาหาร
              4. ไส้
              5. มะพร้าว

ขั้นตอนการทำ
              1. นวดแป้ง
              2. ใส่ไส้ตามที่ต้องการ
              3. นำขนมที่ใส่ไส้แล้วมาปั้นตามรูปแบบที่ชอบ
              4. นำมาต้ม
              5. คลุกกับมะพร้าวที่เตรียมไว้
              6. จัดจานตกแต่งตามจินตนาการ


หวานเย็นชื่นใจ



อุปกรณ์
              1. น้ำแข็งก้อน
              2. เกลือ
              3. กะละมัง
              4. น้ำหวานเฮลบลูบอย
              5. นมข้น
              6. ไม้พายสำหรับคน
              7. ถ้วยผสม

ขั้นตอนการทำ
                      1. นำน้ำแข็งใส่กะละมัง
                  2. ใส่เกลือลงไปในกะละมัง
                  3. นำถ้วยผสมขึ้นตั้งบนกะละมังที่ใส่น้ำแข็งและเกลือไว้แล้ว
                   4. เทน้ำแดงผสมน้ำลงไปในถ้วย
                   5. หมุนถ้วยน้ำแดงไปมา
                   6. คนน้ำแดงในถ้วยจนของเหลวเปลี่ยนเป็นของแข็งหรือจากน้ำเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งนั่นเอง


นำเสนอโทรทัศน์ครู
นางสาว กมลรัตน์  มาลัย
เรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร
             เน้นกระบวนการสังเกต คิดวิเคราะห์ สร้างความสนใจให้กับเด็ก โดยการให้เด็กไปเก็บสิ่งต่างๆรอบโรงเรียน แล้วเอามาจำแนกแบ่งว่า อะไรลอยน้ำได้บ้าง อะไรจมน้ำบ้าง แล้วนำมาทดลอง ปรากฎว่ามีเด็กในห้องคนหนึ่งหยิบดืนน้ำมันขึ้นมาแล้วเอาไปลอยน้ำ แต่ดินน้ำมันจมน้ำ เด็กจึงเกิดการสงสัยว่าจะทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงวางแผนโดยทำใบงานวิทยาศาสตร์และแจกให้กับเด็กๆ โดยให้เด็กๆรู้จักการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่นำมาจะเป็นรูปร่างอะไร เปลี่ยนแปลงจากรูปสี่เหลี่ยมแล้วปั้นเป็นรูปอะไรให้ออกแบบเอง เด็กๆเคยเห็นเรือลอยน้ำได้

Skills
             อาจารย์ให้นักศึกษา นำอุปกรณ์มาทำ Cooking เมนู ข้าวจี่ หวานเย็นชื่นใจ และขนมโค โดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเองตามขั้นตอนการทำพร้อมทั้งสรุปการทำในแต่ละกิจกรรม

Apply
             รู้จักวางแผนในการทำการสอน และนำความรู้เกี่ยวกับ Cooking ไปใช้สอนเด็กในอนาคต

Classroom Evaluation
         ห้องเรียนสะอาด โตณะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
         อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี



Recorded Diary 13

November 10 , 2015

Knowladge

วาฟเฟิล
ส่วนผสม
                 1. แป้งวาฟเฟิล
                 2. ไข่ไก่
                 3. นมคาร์เนชั่น
                 4. ข้าวโพด
                 5. ท็อปปิ้ง
                 6. เตาทำวาฟเฟิล

ขั้นตอนการทำ
                 1. อุ่นเตาทำวาฟเฟิลในอุณหภูมิปานกลาง
                 2. เทแป้งวาฟเฟิลลงภาชนะ ตอกไข่ ใส่นมคาร์เนชั่นลงไป ตามอัตราส่วนที่กำหนด คนให้เข้ากัน
                 3. นำแป้งที่ผสมเสร้จแล้วไปเทลงที่เตาทำวาฟเฟิล โรยหน้าด้วยข้าวโพด
                 4. ปิดฝาเตาและรอจนวาฟเฟิลสุก แล้วจึงนำมาตกแต่งจานตามใจชอบ

ทาโกะยากิ
ส่วนผสม
                 1. เตาทำทาโกะยากิ
                 2. ไข่ไก่
                 3. ต้นหอม
                 4. ข้าวสวย
                 5. แครอท
                 6. ปูอัด
                 7. ท็อปปิ้ง

ขั้นตอนการทำ
                 1. ตักข้าวสวยที่หุงเสร็จแล้วใส่ถ้วยของตนเอง 3 ช้อนโต๊ะ
                 2. ตักไข่ที่ตีแล้วลงในถ้วยของตน 1 ทัพพี
                 3. หั่นต้นหอม แครอท และใส่ปูอัดลงไปในถ้วย
                 4. ปรุงรสตามต้องการ
                 5. คนให้เข้ากันและตักใส่กระทะทาโกะยากิ หลุมละ 1ช้อน จากนั้นพลิกหมุนๆจนทาโกะยากิเป็นก้อน เป็นอันเสร็จ



Skills
           ทักษะที่ได้จากการทำกิจกรรม ได้รู้ถึงขั้นตอนการทำ Cooking รู้จักสังเกตและแก้ปัญหา โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง

Apply
           นำความรู้ที่ได้มาสอนในการทำ Cooking ให้กับเด็กปฐมวัย และฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี


Recorded Diary 12

November 3 , 2015
Knowladge
           แต่ละกลุ่มนำ My Mapping และแผนการจัดกิจกรรมของกลุ่มตนเองมาแปะหน้าห้อง เพื่อให้อาจารย์และเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นพร้อมแก้ไข หน่วยมีดังนี้
                  1. หน่วยยานพาหนะ
                  2. หน่วยร่างกายของฉัน
                  3. หน่วยชุมชนของฉัน
                  4. หน่วยต้นไม้แสนรัก
                  5. หน่วยน้ำ
กลุ่มของดิฉันคือ หน่วยชุมชนของฉัน เมื่ออาจารย์และเพื่อนๆแสดงความคิดเห็นเสร็จ สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ My Mapping ในหัวข้อ 
             - ลักษณะของชุมชน ขนาด ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน 
             - ข้อพึงระวัง เปลี่ยนเป็นข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน
             - ประโยชน์ของชุมชน เกิดศิลปะ วัฒนธรรม

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์



Skills
          ปรับและแก้ไขมายแมปและแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม เลือกใช้คำที่เข้าใจง่ายและรัดกุม สิ่งที่นำมาเขียนในแผนจำเป็นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ระดมความคิดเห็นภายในกลุ่มในการปรับแก้แผนของตนเอง

Apply
          นำการปรับแก้แผนตามที่อาจารย์บอกไปใช้กับแผนของตนเองในอนาคต การคิดวิเคราะห์แผนต้องมีความละเอียดมากขึ้น การใช้คำและสิ่งที่จะนำมาเขียนในแผนต้องเป็นไปตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

         

Recorded Diary 11

October 27 , 2015
Knowladge

ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                 กิจกรรมที่ 1 พับกระดาษ ตัดเป็นดอกไม้ ระบายสีตกแต่ง และนำไปลอยในนำ สังเกตว่าดอกไม้เป็นอย่างไรเมื่อลงไปลอยในน้ำ สังเกตพบว่า เมื่อกระดาษโดนน้ำ กระดาษจะค่อยๆซึมซับน้ำ ทำให้ดอกไม้ค่อยๆบานออก 

              
                
                กิจกรรมที่ 2 เรื่อง แรงดัน นำน้ำเทใส่ขวดน้ำที่เจาะรู 3 รู แล้วสังเกตว่ารูไหนน้ำพุ่งไกลกว่าเพราะอะไร ?


           
               กิจกรรมที่ 3 ทำน้ำพุจากขวดน้ำ คุณสมบัติของน้ำ น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แรงดันน้ำมากขึ้นเท่าไร น้ำก็จะพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น



                กิจกรรมที่ 4  การทำลูกยางจำลอง โดยการใช้กระดาษและคลิปหนีบกระดาษ



           
                   กิจกรรมที่ 5 ไหมพรมเต้นระบำ ใช้หลอดตัดครึ่ง ร้อยไหมพรมเข้าไปในหลอดและมัดปม ทำการเป่าลมเข้าไปในหลอด และไหมพรมจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง



               
               กิจกรรมที่ 6 เทียนไข ขั้นตอนการสอน แนะนำอุปกรณ์ ตั้งสมมติฐาน ทดลอง สรุปผลการทดลอง


Skills
          อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองวิทยาศาสตร์และหาเหตุผลจากการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการใช้คำถามกระตุ้นความคิด ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้น การสังเกต เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

Apply
           สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทดลองวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ีดีและมีทักษะที่เกิดจากการลงมือกระทำด้วยตนเอง

Classroom Evaluation
           ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้ดีไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
           เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation 
           เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

          




Recorded Diary 10

October 20 , 2015
Knowladge

นำเสนองานวิจัย
เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หัวหน้าคณะวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุลีพร  สงวนศรี

                      วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือพัฒนาคนในชาติให้สามารถแสวงหาความรู้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีสืบเสาะ ค้นคว้าความรู้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ ฝึกคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การพัฒนาคนจึงต้องอาศัยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ฝึกคิดเป็น

วิธีการดำเนินวิจัย
                       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนาทดลอง พัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมโดยการสังเกตจากการอบรมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                      1. แบบสอบถามความคิดเห็นครูปฐมวัย
                      2. แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานการสอนคิดของครูปฐมวัย

ตัวแปรที่ศึกษา
                     ตัวแปรต้น คือ แผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
              ตัวแปรตาม คือ ทักษะการสอนคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาของครูปฐมวัย และความสามารถคิดวิเคราะ์แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย

สรุป
              จากการวิจัยพัฒนาทดลองเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนของครูปฐมวัย โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกิดกระบวนการสังคมแห่งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างนักวิจัยกับชุมชน เกิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีส่วนร่วมวางแผนจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกิดความตระหนักเรื่องการพัฒนาเด็กคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างชุมชนกับนักวิจัย เด็กปฐมวัยได้พัฒนาการคิดผ่านการเล่นในชีวิตประจำวันโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5   

นางสาว ปรางชมพู  บุญชม 
เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ปริญญานิพนธ์ของ เอราวรรณ  ศรีจักร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ที่มาและความสำคัญ
             วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบันและสังคมอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคน การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูต้องใช้ประสบการณ์คิดและปฏิบัติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นหลักทางการเรียนรู้

ความมุ่งหมายของการวิจัย
              1. เพื่อศึกษาระดับทักษะการบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
              2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ขอบเขตการวิจัย
           ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชาย - หญิง ที่มีอายุ 4 - 5 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ

ตัวแปรที่ศึกษา
               ตัวแปรอิสระ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
               ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก ด้านการสื่อสาร และด้านการลงความคิดเห็น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                1. ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้
                2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
                3. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สรุป
                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสื่ออย่างหลากหลาย และทำชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่เน้นสมองเป็นฐาน การเรียนรู้ในแต่ละครั้งเด็กได้นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต การจำแนก การสื่อสารและการลงความคิดเห็น จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างสมบูรณ์


ระดมความคิดในการทำ Cooking ภายในกลุ่ม
ข้าวจี่ไส้ไก่หยอง


ส่วนผสม
          1. ข้าวเหนียวนึ่งสุก
          2. ไก่หยอง
          3. ไข่ไก่
          4. ซอสปรุงรส
          5. น้ำตาล
          6. เกลือ
          7. ไม้เสียบข้างจี่

วิธีการทำ
          1. ปั้นข้าวจี่เป็นก้อนตามใจชอบ
          2. ใส่ไส้ไก่หยอง และเสียบไม้ข้าวที่ปั้นไว้แล้ว
          3. นำข้าวจี่ไปย่างพอให้ข้าวเปลี่ยนสี
          4. ตอกไข่ไก่ลงพาชนะ ปรุงรสด้วยน้ำตาล ซอสปรุงรส ตีให้เข้ากัน
          5. พอข้าวที่นำไปย่างเปลี่ยนสีก็นำลงมาชุบไข่และนำขึ้นไปย่างอีก ทำอย่างนี้ไปหลายๆชั้น เพื่อรสชาตที่กลมกล่อม


Skills
          อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิจัย และเพิ่มเติมความรู้ในวิจัยนั้นๆ เพื่อเสริมความรู้ให้แก่นักศึกษา จากนั้นให้นักศึกษาระดมความคิดในการทำ Cooking ตามหน่วยที่กลุ่มตนเองรับผิดชอบ

Apply
          รู้จักวางแผนในการทำการสอน และนำความรู้เกี่ยวกับ Cooking ไปใช้สอนเด็กในอนาคต

Classroom Evaluation
         ห้องเรียนสะอาด โตณะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

Evaluating Teacher
         อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
         เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Self Evaluation
         เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

Recorded Diary 9

october 13 , 2015
Knowladge

นำเสนอบทความ
นางสาว สุทธิกานต์  กางพาพันธ์
เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ?

DSCN8613

                  สสวท. ได้เห็นความสำคัญของการปลูกฝังการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยได้ดำเนิน "โครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย" ขึ้น ในรูปของกิจกรรมบูรณาการสหวิชา ให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ยกตัวอย่าง 2 กิจกรรม

กิจกรรม "หวานเย็นชื่นใจ" 
             เด็กๆ ค้นพบว่าโดยปกติน้ำและน้ำหวานเป็นของเหลว เมื่อนำไปแช่ในน้ำแข็งที่ใส่เกลือ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำและน้ำหวานมีอุณหภูมิลดต่ำลงจนเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง

กิจกรรม "โมบายเริงลม"
              พลังงานจากลมช่วยให้สิ่งของต่างๆเกิดการเคลื่อนที่ ในกิจกรรมนี้เมื่อเด็กๆ ทำโมบายที่สวยงามแล้ว นำไปแขวนในที่ที่มีลมพัด โมบายก็จะเคลื่อนที่ และเกิดเสียงที่ไพเราะ นอกจากนี้ในการทำโทบายจะเข้าใจหลักการสมดุลของแรงด้วย

นางสาว ศุทธินี  โนนริบูรณ์
เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น "เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง"
               การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ๆ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญในการช่วยเป็นพ่อครู แม่ครูที่บ้านด้วย

นางสาว เจนจิรา เทียมนิล
เรื่อง การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก
                การสอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่สามารถดูดเหล็กหรือวัตถุประเภทโลหะเข้าหาตัวเองได้เพราะมีแรง แต่คนเราไม่เห็นแรงที่ดูดนั้น ซึ่งแรงธรรมชาติที่เกิดจากแท่งแม่เหล็ก สามารถดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็ก เช่น วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และไม่ดูดวัตถุที่คุณสมบัติตรงข้ามกับแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติก
                การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน ถึงแม้เด็กจะไม่สามารถเห็นแรงแม่เหล็กได้ด้วยตาตนเอง เพราะแรงแม่เหล็กเป็นแรงธรรมชาติชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เด็กจะรับรู้ได้จากผลการกระทำของแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กเข้าไปหาแม่เหล็ก ดังนั้น เรื่องแรงแม่เหล็ก จึงเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็กปฐมวัย ชวนให้เด็กตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับธรรมชาติความอยากรู้อยากเห็นของเด็กปฐมวัย ประกอบกับคนเราได้ใช้แรงแม่เหล็กสร้างสรรค์เครื่องเล่นเครื่องใช้อย่างมากมาย จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดให้เด็กเรียนรู้ จากสาระการเรียนรู้เรื่องสิ่งต่างๆรอบตัวเด็กและธรรมชาติรอบตัว

* นำเสนอของเล่นของอีกเซ็ค *

นำเสนองานกลุ่มตามที่ร่างแบบเอาไว้
ของเล่น พัดลวงตา
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ ธรรมชาติสายตามนุษย์จะจดจำภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป 1.5 วินาที หากในระยะเวลาที่ปรากฏในภาพใหม่แทนที่ทั้งสองภาพเข้าด้วยกัน จะมีลักษณะเคลื่อนไหวต่อเนื่อง สาตาเราก็จะมองว่าภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

การทดลอง เรือไม้จิ้มฟัน
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ คือ แชมพูมีฤทธิ์เป็นเบส เมื่อทำแชมพูไปทาที่ไม้จิ้มฟันและนำไปลอยในน้ำ แชมพูจะทำให้แรงตึงของผิวน้ำบริเวณนั้นขาด ไม้จิ้มฟันที่ทาด้วยแชมพูถูกแรงตึงผิวของน้ำด้านตรงข้ามจึงทำให้ไม้จิ้มฟันพุ่งไปข้างหน้า

Skills
          อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความและให้ความรู้เพิ่มเติมต่อบทความนั้นๆ และให้นักศึกษานำของเล่นของอีกเซ็คมาช่วยกันวิเคราะห์หาคำตามตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับอาจารย์โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Apply
           สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์การสอนและนำมาบูรณาการในการออกแบบกิจกรรมในเรื่องของวิทยาศาสตร์หรือสิ่งรอบตัวเด็ก และมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนแผน

Classroom Evaluation
            ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้อย่างไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้มีเพียงพอสำหรับผู้เรียน

Evaluating Teacher
            อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี

Evaluation for Classmated
            เพื่อเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี

Self Evaluation 
            เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Recorded Diary 8

Octoer 6 , 2015
 
Knowledge
 
 
 
 
 
 
 
Skills
              อาจารย์สอนโดยให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรวบรวมสาระการเรียนรู้นำมาทำแมปปิ้ง
 
Apply
              นำความรู้ที่ได้เป็นการเตรียมความพร้อมพื้นฐานก่อนการออกไปสังเกตการสอนหรือออกไปฝึกสอนได้ในอนาคต
 
Classroom Evaluation
              ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้สอยได้ดี ที่นั่งเพียพอแก่ผู้เรียน
 
Evaluating Teacher
               อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมความพร้อมในกรมาอสนเป็นอย่างดี
 
Evaluation for Classmated
               เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ในความร่วมมือในการทำกิจกรรม
 
Self Evaluation
               เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน



Recorded Diary 7

September 22, 2015
 
Knowledge
 
ฟองอากาศจากขวดน้ำ
 
 
อุปกรณ์
  
 
1. ขวดน้ำ
 

2. มีดคัตเตอร์
 
3. สบู่ผสมน้ำ
 
4. ผ้าขนหนู

5. ยางรัดผม


6. สีน้ำ
 

ขั้นตอนการทำ / เล่น  

1. ตัดก้นขวดน้ำออกแล้วใช้ส่วนบนของขวดน้ำ
ผสมน้ำสบู่เข้มข้นกับสีน้ำให้เข้ากัน
 
 
2. นำผ้าขนนูมาวางปิดขวดแล้วรัดยางให้แน่น
 
 

3. เป่าลมเข้าทางปากขวดแล้วจะได้ฟองสบู่สวยๆออกมา
 

ทำไมถึงเป็นเช่นนนี้ ?
              โมเลกุลของน้ำที่ผิวน้ำนั้นจะเกาะกันแน่นเป็นพิเศษจนเกิดเป็นแรงตึงผิว โมเลกุลของสบู่ก็เกาะตัวกันแน่นเช่นกัน แต่มันก็ไม่เหมือนโมเลกุลของน้ำซะทีเดียว เพราะโมเลกุลของสบู่นั้นพร้อมที่จะผสมกับโมเลกุลอื่นๆ ด้านหนึ่ง โมเลกุลของสบู่จะติดกับโมลกุลของน้ำ ส่วนอีกด้านหนึ่ง โมเลกุลของมันก็จะติดอยู่กับอากาศและสิ่งสกปรกที่อยู่บนผิวของเรา ดังนั้น เมื่อสบู่โดนน้ำ โมเลกุลของสบู่ด้านหนึ่งก็จะติดอยู่กับน้ำและอีกด้านหนึ่งก็จะติดอยู่กับอากาศ  โมเลกุลของสบู่อันไหนที่ติดอยู่ข้างใต้ก็จะพยายามโผล่ขึ้นมาอยู่บนพื้นผิวและนั่นก็ทำให้เกิดโมเลกุลขึ้น 3 ชั้น คือ
              1.ชั้นของโมเลกุลของสบู่
              2.ชั้นของน้ำ 
              3.ชั้นของโมเลกุลของสบู่ที่พยายามดันตัวเองขึ้นมา
       ทั้ง 3 ชั้นนี้จะทำให้เกิดฟองขึ้นนั่นเอง และเมื่อฟองเกิดมากๆเข้าก็จะกลายเป็นเนื้อโฟมละเอียดที่มีฟองเล็กๆแทรกอยู่ทั่วไป 
 
 
ทักษะ (Skills)
            การนำเสนอหน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับผลงานของตนเอง พร้อมทั้งพูดถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ของการเกิดฟองสบู่
 
การนำความรู้ไปใช้ (Apply)
             การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในการทำของเล่นและสามารถบอกถึงหลักการการเกิดองสบู่ได้
 
ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation)
              ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนสะดวกแก่การใช้ ที่นั่งเพียงพอต่อผู้มาเรียน
 
ประเมินผู้สอน (Evaluating Teacher)
              เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนอย่างเหมาะสม อธิบายถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ใหเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
 
ประเมินเพื่อน (Evaluated for Classmated)
              เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมของเล่นและการพูดนำเสนอมาค่อยข้างดี
 
ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
              เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมผลงานมานำเสนออย่างดี ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ

 

Recorded Diary 6

September 15 , 2015
 
ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledge gained)
               สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ อายุแรกเกิด - 7 ปี ช่วงวันนี้สมองจะพัฒนาไปถึง 80% ของผู้ใหญ่ สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ ซีกซ้ายจะทำงานเกี่ยวกับการคิดคำนวน ส่วนซีกขวาจะทำงานเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
 
 
 
 
การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
              - การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
              - เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
              - พัฒนาทักษะ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์
              - กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่
 
 
 
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
             1. อยากรู้อยากเห็น
             2. ความเพียรพยายาม
             3. ความมีเหตุผล
             4. ความซื่อสัตย์
             5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
             6. ความใจกว้าง
 
 
ทักษะ (Skills)
            อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาระดมความคิด แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของสมองตามความเข้าใจของตนเองลงในกระดาษ
 
การนำเอาความรู้ไปใช้ (Apply)
            สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้บูรณาการในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง รู้เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการใช้นิทานเป็นสื่อเพื่อเพิ่มความสนุกในการเรียมากยิ่งขึ้น และสามารถนำเทคนิคที่ได้รับเหล่านี้ไปใช้ได้จริง
 
 
ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation)
            ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การเรียนสะดวกต่อารใช้สอย มีที่นั่งเพียงพอแก่ผู้เรียน
 
ประเมินผู้สอน (Evaluating Teacher)
            เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายอย่างเหมาะสม มีการเตรียมตัวและเนื้อหามาสอนเป็นอย่างดี
 
ประเมินเพื่อน (Evaluated for Classmated)
            เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี
 
ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
            เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในารตอบคำถาม