วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 3

August 25,2015

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
             อารจารย์บอกถึงสิ่งที่ควรแก้ไขในการทำบล็อค ยกตัวอย่างจากบล็อคเพื่อนเลขที่แรกๆ ทำบล็อคอย่างไรถึงจะถูกต้อง ควรตรวจทานตัวอักษรให้ถูกต้องและจัดองค์ประกอบของบล็อคให้พอดี สะดวกแก่การเข้าชม

สรุปความรู้จากหนังสือวิทยาศาสตร์
เรื่อง : อากาศ
(สรุปกิจกรรมร่วมกับนางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์)

              เด็กๆคุ้นเคยกับสสารนับร้อยๆอย่างโดยผ่านทางประสาทสัมผัส แต่อากาศจะทำให้เด็กแปลกใจเพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แม้ว่ามีอากาศอยู่ตลอดเวลาแต่ก็ไม่อาจสัมผัสได้โดยตรงจนกว่าอากาศจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับบางสิ่งบางอย่าง 

ตัวอย่างกิจกรรมที่เลือก
กิจกรรม : อากาศในถุงหนึ่งทำอะไรได้บ้าง

                                 

 
จุดประสงค์การเรียนรู้ : เพื่อขยายความเข้าใจที่ว่าอากาศมีมวล
วัสดุ : ถุงกระดาษขนาดใหญ่แข็งแรง ลวดสำหรับมัดปากถุง หรือเทปกาว ที่สูบลมล้อจักรยานเป็นแบบมีลูกสูบลมหรือที่สูบแบบใช้มือก็ได้ หนังสือเล่มหนักๆหรือแท่งไม้
ขั้นเตรียมการ : รวบปากถุง มัดด้วยลวดหรือเทป วางถุงไว้บนพื้น เอาหนังสือวางตั้งบนถุงวางที่สูบลมไว้ใกล้ๆดังภาพ






กิจกรรมกลุ่มย่อย 
    1. แสดงวิธีใช้ที่สูบลมให้นักเรียนดูถ้านักเรียนไม่รู้จักหรือใช้ไม่เป็น ให้ดูช่องที่ให้ลมเข้า ลมนี้จะถูกสูบออกโดยที่สูบลม(ถ้าเป็นแบบมีลูกสูบให้เอาจุ๊บที่ปิดออกด้วย) ให้นักเรียนสัมผัสลมที่กำลังถูกสูบออก
       2. ถาม"นักเรียนคิดว่าถุงที่บรรจุอากาศเต็มนี้จะดันให้หนังสือล้มได้หรือไม่ เราจะหาคำตอบนี้ได้อย่างไร"
       3. สอดปลายของสายยางลูกสูบเข้าไปในถุง ปิดปากถุงให้สนิทหรือเพียงจับไว้ให้สายยางอยู่ในถุงขณะที่นักเรียนผลัดกันสูบลมเข้าไปในถุงดันให้หนังสือล้มลง "ใช่อากาศไหมที่ทำให้หนังสือล้ม นักเรียนคิดว่าอากาศเป็นสิ่งที่มีจริงหรือไม่แม้ว่าเรามองไม่เห็น" ครูชวนคุยเรื่องของถุงลมนิรภัยในรถยนต์

การนำเอาความรู้ไปใช้ (apply)
          - จากการศึกษากิจกรรมในหนังสือสามารถเอาไปบูรณาการในการเรียนการสอนในอนาคตได้

ทักษะ(skills)
         - จากการเข้าห้องสมุดเพื่อหาหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอาจารย์อธิบายความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทำการเลือกหนังสือให้นักศึกษาอ่านทำความเข้าใจและจับสลากเลือกหน่วยเพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดให้มากขึ้น 

วิธีการสอน (How to teach)
      - หาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือในห้องสมุด

ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation) 
      - ห้องเรียนมีความสะอาดเหมาะสมแก่การเรียนและอุปกรณ์ประกอบการณ์สอนใช้งานได้ไม่ขัดข้อง
         - ห้องสมุดสะอาดและเงียบสงบ เหมาะแก่การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเป็นอย่างยิ่ง

ประเมินผู้สอน (Evaluating teacher) 
      - เข้าสอนตรงเวลา อธิบานเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจง่ายอย่างชัดเจน

ประเมินเพื่อน (Evaluated for classmated)
         - ตั้งใจค้นหาหนังสือตามที่ได้รับมอบหมายและสนใจในเนื้อหาของหนังสือ

ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
      - เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจหาหนังสือตามคำหมอบหมายของผู้สอนและมีมารยาทในการใช้ห้องสมุด 


วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Recorded Diary 2

August 18,2015

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)
     วิทยาศาสตร์อยู่รอบตัว ทำให้เราเข้าใจ เชื่อในเหตุผลหรือข้อมูล เกิดการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
         - รู้จัก
         - มีเหตุผล
         - นำไปใช้ประโยชน์
         - เกิดการพัฒนา

พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาไปตามลำดับ ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ทำให้เด็กรู้จักตัว"ตน" (self) ตอนแรกเกิดเด็กยังไม่สามารถแยก"ตน"ออกจากสิ่งแวดล้อมได้ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดเวลาและตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดความสมดุล (equilibrium) การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม


กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ ได้แก่
   1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
        - เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา โดยจะตีความหรือรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
   2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)
        - การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญา

 การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
           - การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
           - การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสมกับประสบการร์ใหม่ที่ได้รับเข้ามา 

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
            1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensori motor Stage)
            2. ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational)
                   - ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought)
                   - ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)
            3. ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นนามธรรมมากขึ้น (Concrete Operation Thought)

การนำเอาทฤษฎีไปใช้
            - ต้องมีขอบเขตจำกัดและมีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง"
            - สามารถจัดประสบการณ์รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยหรือกระตุ้นความคิด

ทักษะ (skills)
          - ใช้คำถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งก่อนและหลังเรียน

วิธีการสอน (How to teach) 
              - บรรยายผ่านโปรแกรม Power Point
              - ตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความรู้ของนักศึกษา
              - แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนพัฒนาการทางสติปัญญาตามความเข้าใจของนักศึกษาเอง

ประเมินห้องเรียน (Classroom Evaluation) 
              - ห้องเรียนและบรรยากาศภายในห้องเรียนปกติ
              - เทคโนโลยีภายในห้องเรียนใช้สอยได้ปกติ

ประเมินอาจารย์ (Evaluating teacher) 
              - เข้าสอนตรงเวลาและเตรียมการสอนมาอย่างดี

ประเมินเพื่อน (Evaluated for classmated) 
              - ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
              - เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี


สรุปบทความ (Article)

เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาตร์ปฐมวัย
โดย มิส วัลลภา ขุมหิรัญ

          การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งทางความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มัทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำความรู้ที่ได้ไปใช้อย่างสร้งสรรค์และมีเหตุผล นอกจากนั้นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ยังควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อได้รับประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนใจและทำการส่งเสริมโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์

Recorded Diary 1

August 11,2015

- แนะนำรายวิชา
- แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการทำอนุทิน
- อธิบายในหัวข้อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained
  1. การคิด
        - การคิดแบบวิเคราะห์
        - การคิดแบบสังเคราะห์
        - การคิดแบบความคิดสร้างสรรค์
        - การคิดเชิงเหตุและผล
  2. การสื่อสาร
  3. วิธีการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กระทำกับวัตถุ
  4. การจัดประสบการณ์
  5. ทักษะทางวิทยาศาตร์
  6. เครื่องมือในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
         - ภาษา
         - คณิตศาสตร์

เทคนิคการสอน (Teaching Techniques)
   1. การใช้คำถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
   2. การลงมือปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง
   3. การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอนแบบเห็นภาพ

การนำไปใช้ (Apply)
   1. นำไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
   2. นำไปใช้ในการออกแบบสื่อการจัดประสบการณ์
   3 นำไปใช้ในการวางแผนเพื่อทำการสอน

ทักษะ (Skills)
    - การใช้คำถามและเปลี่ยนความคิดเห็น

วิธีการสอน (How to Teach)
    - ใช้ Mapping ในการบรรยายการสอน
    - ใช้คำถามสอดแทรกเพื่อกระตุ้นความคิด

ประเมินสภาพห้องเรียน (Classroom Evaluation)
    - ห้องเรียนมีสภาพที่เหมาะสมแก่การเรียน
    - สื่อการสอนใช้ได้ปกติ

ประเมินอาจารย์ (Evaluating teachers)
    - เข้าสอนตรงเวลาและมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน (Evaluated for classmates)
    - ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินตนเอง (Self Evaluation)
    - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ยังไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น