November 24 , 2015
Knowladge
นำเสนอบทความ
นางสาว รัชดา เทพเรียน
เรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
ผลจากการคิดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรเรียนรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์
เรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่น เราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมาก วิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยี เช่น ทีวี วิทยุ เป็นต้น เด็กเล็กๆมีธรรมชาติเป็นผู้อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร สามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัสเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เช่น เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู้ความรู้สึกประสบความสำเร็จ
นางสาว ชะนาภา คะปัญญา
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย มิสวัลลภา ขุมหิรัญ
การพัฒนาแนวคิด
1. ด้วยวิธีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
1. ด้วยวิธีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย
2. การตั้งคำถาม
3. การทดลอง
4. การสังเกตและหาข้อสรุป
ความตระหนัก ให้เด็กๆมีมุมมองรู้สึกรับผิดชอบในงาน
1. สิ่งต่างๆที่ทำต้องการที่จะหาอะไร
2. ทำอะไรได้บ้าง
3. เห็นอะไรบ้าง
4. สิ่งต่างๆนั้นบอกอะไร
ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
1. สนับสนุนความอยากรู้อยากเห็น
2. สนับสนุนโดยการใช้คำถาม
3. ให้ใช้ประสาทสัมผัสสอดคล้องกับวิธรการเรียนรู้
4. ส่งเสริมกระบวนการคิดเชื่อมโยงความรู้เดิม เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ
5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมความดูแลและความรับผิดชอบ
7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความรู้สึก
นำเสนอวิจัย
นางสาว จงรักษ์ หลาวเหล็ก
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ปริญญานิพนธ์ของ สุมาลี หมวดไธสง
เครื่องมือในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมทางวิทยศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม
ตัวอย่างแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย
นางสาว ประภัสสร คำบอนพิทักษ์
เรื่อง การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย ณัฐชุดา สาครเจริญ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
วิธีดำเนินการวิจัย
1. กำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
4. ทำการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
นำเสนอโทรทัศครู
นางสาว กรกช เดชประเสริฐ
เรื่อง พัฒนาการการสังเกตเป็นพื้นฐานที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์
ครูนำไข่ 2 ใบ มาโยนพร้อมกัน เพื่อให้เด็กสังเกตปฏิกิริยาของไข่เมื่อหล่นกระทบพื้น เด็กสังเกตเห็นว่า ไข่ใบหนึ่งแตก แต่อีกใบแค่ร้าว เด็กๆจึงบอกว่าไข่ใบที่ร้าวนั้นเป็นไข่ต้ม
Skills
อาจารย์ให้เพื่อที่เหลือจากการนำเสนอ ออกมานำเสนอบลทความ วิจัย และโทรทัศน์ครูหน้าห้อง
Apply
สามารถนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์และบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์การสอนใช้ได้อย่างไม่ขัดข้อง โต๊ะและเก้าอี้มีเพียงพอสำหรับผู้เรียน
Evaluating Teacher
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการมาสอนเป็นอย่างดี
Evaluation for Classmated
เพื่อเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี
Self Evaluation
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม